ในซอยสะและมัด เขตสวนหลวง กรุงเทพ เป็นที่ตั้งของลานกีฬาชุมชนร่วมพัฒนาบ้านป่า เนื้อที่ 3 งานกว่าๆ แห่งนี้ เป็นจุดศูนย์รวมของเด็กและวัยรุ่น แบ่งการใช้งานเป็นหนึ่งสนามฟุตบอลและหนึ่งสนามบาสเก็ตบอล โดยรอบแวดล้อมด้วยบ้านเรือนกว่า 300 หลังคาเรือน บรรยากาศเช้าจรดเย็นของที่นี่ จะมีผู้คนแวะเวียนมาเพื่อออกกำลังกาย ใช้เวลากับลูกหลาน และทำกิจกรรมอาสาตามเทศกาล
เราสะดุดชื่อชุมชนร่วมพัฒนาบ้านป่าจากรายการ “บุกสนาม” ทางช่องยูทูบ Kingpower Thaipowerพลังคนไทย เมื่อชมรมกีฬาฯเยาวชนร่วมพัฒนาบ้านป่าเอฟซีส่งโค้ชผู้ฝึกสอนเป็นตัวแทนดวลแข้งกับทีมFox Huntเพื่อขอรับลูกฟุตบอลจากคิงเพาเวอร์ไปเป็นของขวัญให้กับเด็กและเยาวชนที่ใช้ลานกีฬา
และเมื่อทำความรู้จักชุมชนแห่งนี้มากขึ้นก็พบความน่าสนใจที่ว่าลานกีฬานี้เป็นที่ดินส่วนบุคคลที่เจ้าของใจดีอนุญาตให้ชุมชนใช้พื้นที่เพื่อสันทนาการมานานหลายปี
จุดประสงค์เริ่มต้นของลานกีฬาก็เพื่อพาเด็กๆ ในชุมชนออกห่างจากยาเสพติด
แต่ดอกผลที่ได้นับสิบปีที่ผ่านมา … เรียกว่า “เกินฝัน” เพราะ… มีนักฟุตบอลเยาวชนฉายแววจากสนามนี้อยู่จำนวนไม่น้อย
Suggestion
‘ลานกีฬา’ พื้นที่คุณภาพที่ส่งต่อในชุมชน
จากเด็กที่วิ่งเล่นในชุมชนจนวันนี้เป็นหนึ่งในผู้ฝึกสอนเยาวชนนักเตะร่วมพัฒนาบ้านป่าเอฟซีมาเกือบ 10ปี ‘โค้ชดุก-ฤทธิชัยมัดฉลาด’ เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงที่เขาเคยเห็นตั้งแต่จำความได้จนถึงปัจจุบันว่า “สภาพพื้นที่ตรงนี้ถูกปรับเปลี่ยนมาเรื่อยๆ ตั้งแต่พื้นที่ป่ารกร้างกลายเป็นสนามดินจนตอนนี้กลายเป็นสนามปูนและสนามหญ้าใช้ประโยชน์ต่อๆ กันมานานกว่า 30ปีเป็นทั้งลานกีฬาจุดบริการชุมชนและพื้นที่ทำกิจกรรมอาสาสมัครต่างๆ
พื้นที่ตรงนี้เหมือนเป็นศูนย์กลางของชุมชนเป็นพื้นที่คุณภาพและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าวันปกติหลังเลิกเรียนจะเป็นเวลาของเด็กเล็ก 8-12ขวบมาเล่นกีฬาหลังจากนั้นก็จะเป็นเวลาของเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยช่วงค่ำก็เป็นเวลาของผู้ใหญ่ส่วนผู้สูงอายุและกลุ่มครอบครัวจะมาใช้สนามหญ้าในช่วงวันหยุดตอนเช้า”
นอกจากการเติบโตในเชิงพื้นที่ ทักษะด้านกีฬาของเด็กๆ ที่นี่ก็เติบโตไปด้วย
“ชุมชนของเรามีเด็กที่เล่นฟุตบอลจริงจังประมาณ 40-50 คนโค้ชที่คุมทีมมี5 คนแบ่งกันดูแลเป็นรุ่นๆ จุดสูงสุดที่เรามองเอาไว้อยากส่งน้องๆ ไปให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้สำหรับกีฬาฟุตบอลเราสอนทักษะและเทคนิคกันแบบรุ่นต่อรุ่นโค้ชที่มาสอนถึงจะไม่มีโปรไฟล์เป็นนักกีฬาอาชีพแต่พวกเรารักฟุตบอลและรวมตัวกันเหนียวแน่นเจตนาเริ่มต้นก็คืออยากให้เด็กๆ มีกิจกรรมที่ออกห่างจากอบายมุขจึงเริ่มสอนตั้งแต่ทักษะพื้นฐานของฟุตบอลให้
น้องคนไหนที่มีพรสวรรค์โดดเด่นเขาจะไปอีกขึ้นหนึ่งโดยอัตโนมัติโค้ชจะต่อยอดด้วยการพาไปเดินสายแข่งขันฟุตบอลเยาวชนพอเริ่มมีผลงานก็ส่งคนที่มีแววไปตามโรงเรียนกีฬาได้ดูแลต่อเรามีเด็กที่เข้าโรงเรียนที่ดังด้านกีฬาเช่นโรงเรียนสุขุมนวพันธ์อุปถัมภ์และโรงเรียนปทุมคงคาที่ทุกปีจะติดเข้าไปเรียนได้ 1-2 คนและได้เข้าไปเล่นเป็นตัวหลักในรายการแข่งขันฟุตบอลของกรมพลศึกษา
และถ้าเด็กกลุ่มไหนที่มาเล่นเพื่อความสนุกเราก็จะสอนทักษะอื่นๆ ให้เช่นการเข้าสังคมน้ำใจนักกีฬาการรู้แพ้รู้ชนะรู้อภัยให้เขาอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้เป็นทั้งพี่ทั้งครูให้ซึ่งที่ผ่านมาผมว่าเราประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจและถือว่ามาได้ไกลแล้ว”
Suggestion
เมื่อสนามฟุตบอลมาตรฐาน อยู่ไกลเกินหวัง…
โค้ชดุกบอกว่าการได้ร่วมเล่นเกมกับรายการบุกสนามที่สนามหญ้าเทียมแห่งแรก (โรงเรียนศรีอยุธยาในพระอุปถัมภ์ฯ ) ในโครงการ100 สนามฟุตบอลสร้างพลังเยาวชนไทยทำให้ได้รับคำแนะนำเรื่องการขอสนามฟุตบอลมาตรฐานสำหรับชุมชน
“พื้นที่สนามฟุตบอลของชุมชนถามว่าที่ผ่านมาได้รับการพัฒนาไหมผมถือว่ามีการพัฒนามาโดยตลอดแต่สำหรับการเล่นฟุตซอลในสนามหญ้าจริงก็อาจจะค่อนข้างผิดประเภทไปสักหน่อยพอเป็นหญ้าจริงตอนกลางคืนถ้ามีน้ำค้างหรือวันไหนฝนตกสนามก็ลื่นค่อนข้างไม่ปลอดภัยกับเด็กๆ แต่ประโยชน์ด้านอื่นๆ ในชุมชนก็ยังใช้ได้ดีอยู่
ใจจริงก็อยากให้มีสนามฟุตบอลที่เป็นมาตรฐานมีหลังคา
Suggestion
…แม้จะปรารถนา แต่นั่นก็เป็นความหวังที่เป็นจริงได้ยาก…
“เนื่องจากพื้นที่ของเราเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลเกิดขึ้นได้จากความใจดีของผู้ใหญ่เจ้าของที่ดินที่เอื้อเฟื้อประโยชน์ให้เกิดกับชุมชนการพัฒนาลานกีฬาให้เป็นสนามฟุตบอลที่เป็นมาตรฐานอาจจะมีข้อจำกัดทั้งเรื่องเงื่อนไขสัญญาและการขออนุญาตโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก
ดังนั้นเราจึงมองข้ามเรื่องพื้นที่แต่เราจะมุ่งผลักดันศักยภาพของเด็กๆ ให้โดดเด่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้อาจจะแค่หนึ่งคนที่สามารถเข้าไปอยู่ในทีมชาติจะอีกห้าปีหรือมากกว่านั้นก็ถือว่าความฝันเราเป็นจริงแล้ว”
ลูกฟุตบอล เติมเต็มฝัน..ให้ได้ไปต่อ
เมื่อมองข้ามข้อจำกัดด้านพื้นที่ไปแล้วสิ่งที่ชมรมกีฬาฯเยาวชนร่วมพัฒนาบ้านป่าเอฟซียังต้องการอยู่ก็คือการมีลูกฟุตบอลสำหรับฝึกซ้อมอย่างเพียงพอซึ่งจะช่วยเติมเต็มทักษะของเด็กๆ ให้สมบูรณ์ได้
“ปัญหาอย่างหนึ่งของน้องๆ ที่นี่คือการขาดอุปกรณ์สำหรับฝึกซ้อมโดยเฉพาะลูกฟุตบอลเด็กในรุ่นเยาวชนเรามีตั้งแต่อายุ 8-14 ปีทั้งหมดเกือบ 40 คนแต่ลูกฟุตบอลมีอยู่แค่ 5-6 ลูกซึ่งไม่เพียงพอสำหรับฝึกซ้อมทำให้ขาดความต่อเนื่องอารมณ์การเล่นขาดตอนโดยเฉพาะการฝึกเดาะฝึกเลี้ยงลูกและยิงประตู
ก่อนหน้านี้การหาทุนสนับสนุนเพื่อซื้ออุปกรณ์ของชมรมกีฬาฯ เราจะตั้งต้นจากจัดแข่งขันฟุตบอลภายในชุมชน ระดมทุนเพื่อหารายได้มาจุนเจือนักฟุตบอล และดูแลพื้นที่ นานๆ ทีจะมีคนเข้ามาสนับสนุน ซึ่งการเข้าเล่นเกมกับรายการบุกสนาม ก็เป็นอีกหนึ่งโอกาสหนึ่งจากผู้ใหญ่ใจดี ทำให้เรามีลูกฟุตบอลเอาไว้ให้เด็กๆ ฝึกซ้อม เพียงพอสำหรับเด็กทุกคน และยังเหลือกระจายให้ชุมชนใกล้เคียงได้ฝึกซ้อมด้วย”
ลูกฟุตบอลสำหรับบางคนอาจจะไม่ใช่ของที่ซื้อหายากหรือราคาแพงแต่ในบางพื้นที่นับว่าเป็นของมีค่าจำเป็นและเป็นที่ต้องการโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกฟุตบอลที่มีมาตรฐานการแข่งขันน้ำหนักวัสดุอายุการใช้งานส่งผลต่อความสนุกสนานและฝีเท้าได้เช่นกัน
Suggestion
รู้จัก…ชุมชนบ้านป่า ที่ (วันนี้) ไม่มีป่า
ชุมชนร่วมพัฒนาบ้านป่าแม้จะประกาศจัดตั้งให้เป็นชุมชนอย่างเป็นทางการในปี 2531 แต่พื้นที่นี้มีเรื่องเล่ามานานเกินกว่า 100 ปีในฐานะแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวมลายูในบางกอก
จาก (เรื่องเล่า) มลายูบางกอก บทความโดยอาลี เสือสมิง เล่าถึงประวัติชุมชน “บ้านป่า” ว่าในอดีตพื้นที่แถบนี้มีสภาพ “ป่า” สมดังชื่อ มุขปาฐะของผู้สูงอายุบอกเล่าต่อกันมาว่า พื้นที่แถบนี้เดิมเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ปกคลุม และไม่มีบ้านเรือนผู้คนอาศัย ส่วนคลองบ้านป่าที่เห็นกันในปัจจุบัน มิใช่คลองขุด แต่เป็นคลองธรรมชาติที่เกิดจากโขลงช้างเดินหาอาหาร แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ในแถบนี้…และการเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนป่า ให้กลายเป็นดิน และเป็นปูน ในที่สุด
ชุมชนร่วมพัฒนาบ้านป่าในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ยังคงนับถือศาสนาอิสลามบ้านเรือนที่หนาแน่นได้รับการปรับสภาพให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น…และหัวใจหลักของการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนทุกวัยหนีไม่พ้น ‘ลานกีฬาชุมชนร่วมพัฒนาบ้านป่า’